1. ส่วนบนสุด หรือส่วนใกล้หัวใจ (Cardiac Region หรือ Cardium) อยู่ต่อจากหลอดอาหาร มีกล้ามเนื้อหูรูด (Cardiac Sphincter)
2. ฟันดัส (Fundus) เป็นส่วนที่ 2 มีลักษณะเป็นกระพุ้ง
3. ไพโลรัส (Pylorus) เป็นส่วนปลายที่ติดต่อกับลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่แคบกว่าส่วนอื่นๆ ตอนปลายของกระเพาะอาหารส่วนนี้มีกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ไพโลริด สฟิงก์เตอร์ (Pyloric Sphincter) ป้องกันมิให้อาหารเคลื่อนเลยกระเพาะอาหารขณะย่อย กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรงมาก และยืดหยุ่นขยายขนาดบรรจุได้ถึง 1000-2000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
โครงสร้างของกระเพาะอาหาร
ภายในกระเพาะอาหารจะมีผนัง มีลักษณะเป็นคลื่น เรียกว่ารูกี (Rugae) มีต่อมสร้างน้ำย่อยประมาณ 35 ล้านต่อม เรียกว่า Gastric Gland สร้างน้ำย่อยของกระเพาะอาหารเรียกว่า Gastric Juice ซึ่งเอนไซม์นี้มีองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ กรดเกลือ โปตัสเซียม คลอไรด์ น้ำเมือก (Mucus) และเอนไซม์เปปซิน (Pepsin)เรนนิน (Renin) และไลเปส (Lipase) เมื่อสารองค์ประกอบเหล่านี้รวมตัวกับสารอาหารจนเหลวและเข้ากันดีคล้ายซุปข้นๆ เรียกว่า ไคม์ (Chyme) การควบคุมการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร
การทำงานของกระเพาะอาหาร(stomach)
มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารและมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์เปปซิน (pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด โดยชั้นในสุดของกระเพาะจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เปปซินและกรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) เป็นส่วนประกอบเอนไซม์เปปซินจะย่อยโปรตีนให้เป็นเปปไทด์ (peptide)ในกระเพาะอาหารนี้ยังมีเอนไซม์อยู่อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า “เรนนิน'' ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหาร กระเพาะอาหารจะมีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า