ads by google

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กระเพาะอาหาร

       กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อจากหลอดอาหาร  อยู่บริเวณด้านบนซ้ายของช่องท้อง  ถัดจากกระบังลมลงมา  มีความยาวประมาณ  10 นิ้ว  กว้าง  5 นิ้ว  จึงถือว่าเป็นส่วนของทางเดินอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  แบ่งออกได้เป็น  3  ส่วนคือ
   1. ส่วนบนสุด  หรือส่วนใกล้หัวใจ  (Cardiac Region หรือ  Cardium) อยู่ต่อจากหลอดอาหาร  มีกล้ามเนื้อหูรูด (Cardiac Sphincter)
   2. ฟันดัส (Fundus) เป็นส่วนที่ 2 มีลักษณะเป็นกระพุ้ง
   3. ไพโลรัส  (Pylorus) เป็นส่วนปลายที่ติดต่อกับลำไส้เล็ก  เป็นส่วนที่แคบกว่าส่วนอื่นๆ  ตอนปลายของกระเพาะอาหารส่วนนี้มีกล้ามเนื้อหูรูด  เรียกว่า  ไพโลริด  สฟิงก์เตอร์  (Pyloric Sphincter) ป้องกันมิให้อาหารเคลื่อนเลยกระเพาะอาหารขณะย่อย    กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรงมาก และยืดหยุ่นขยายขนาดบรรจุได้ถึง  1000-2000  ลูกบาศก์เซนติเมตร 



โครงสร้างของกระเพาะอาหา
         ภายในกระเพาะอาหารจะมีผนัง  มีลักษณะเป็นคลื่น  เรียกว่ารูกี  (Rugae) มีต่อมสร้างน้ำย่อยประมาณ  35 ล้านต่อม  เรียกว่า  Gastric Gland สร้างน้ำย่อยของกระเพาะอาหารเรียกว่า  Gastric Juice ซึ่งเอนไซม์นี้มีองค์ประกอบหลายอย่าง  ได้แก่  กรดเกลือ  โปตัสเซียม  คลอไรด์  น้ำเมือก  (Mucus) และเอนไซม์เปปซิน (Pepsin)เรนนิน  (Renin) และไลเปส  (Lipase)  เมื่อสารองค์ประกอบเหล่านี้รวมตัวกับสารอาหารจนเหลวและเข้ากันดีคล้ายซุปข้นๆ  เรียกว่า  ไคม์  (Chyme) การควบคุมการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร

การทำงานของกระเพาะอาหาร(stomach)   
         มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารและมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์เปปซิน (pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด โดยชั้นในสุดของกระเพาะจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เปปซินและกรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) เป็นส่วนประกอบเอนไซม์เปปซินจะย่อยโปรตีนให้เป็นเปปไทด์ (peptide)ในกระเพาะอาหารนี้ยังมีเอนไซม์อยู่อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า “เรนนิน'' ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหาร กระเพาะอาหารจะมีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า 

หลอดอาหาร

          หลอดอาหาร เป็นท่อกลวงขนาดสั้น มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนปลายของหลอดอาหารเป็นกล้าเนื้อหูรูด ซึ่งสามารถบีบตัวให้หลอดอาหารปิด  เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อยกลับสู่หลอดอาหารอีก หลอดอาหารไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่ทำหน้าที่เป็นทางลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหารเท่านั้น ท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านหลังของหลอดลมและทะลุกระบังลมไปต่อกับปลายบนของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่เคี้ยวแล้วลงสู่กระเพาะอาหาร โดยการบีบรัดขอผนังกล้ามเนื้อ


คอหอยและการกลืน

คอหอยและการกลืน


หลังจากที่อาหารถูกเคี้ยวและผสมกับน้ำลายจนอ่อนนิ่มแล้วอาหารก็พร้อมที่จะถูกกลืนโดยลิ้นจนดันก้อนอาหาร  (Bolus)ไปทางด้านหลังให้ลงสู่ช่องคอ  ซึ่งจะมีผลให้เกิดรีเฟล็กซ์ (Reflex)  
ตามลำดับดังนี้
1. เพดานอ่อน  (Solf Palate) ถูกดันยกขึ้นไปปิดช่องจมูกเพื่อไม่ให้เกิดการสำลักและไม่ให้อาหารเข้าไปในช่องจมูก
2. เส้นเลียง  (Vocal Cord) ถูกดึงให้มาชิดกัน  และฝาปิดกล่องเสียง  (Epiglottis) จะเคลื่อนมาทางข้างหลังปิดหลอดลมเอาไว้ป้องกันไม่ให้อาหารตกเข้าสู่หลอดลม
3. กล่องเสียง  (Larynx) ถูกยกขึ้นทำให้รูเปิดช่องคอมีขนาดใหญ่ขึ้น
4. กล้ามเนื้อบริเวณคอหอย  หดตัวให้ก้อนอาหาร  (Bolus) เคลื่อนลงไปในหลอดอาหารได้โดยไม่พลัดตกลงไปในหลอดลมหรือเคลื่อนขึ้นไปในช่องจมูก

ต่อมน้ำลาย


ต่อมน้ำลาย (ภาษาอังกฤษ:Salivary gland) เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายอยู่ภายในบริเวณช่องปาก พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและแมลง สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะผลิตน้ำลายเพื่อเป็นน้ำย่อยและคลุกเคล้าอาหาร ส่วนในแมลงจะใช้สำหรับสร้างกาวหรือใย ต่อมน้ำลายคนเรามีด้วยกัน 3 คู่ คือ
  • Parotid gland พบได้ที่บริเวณกกหู ผลิตน้ำลาย ชนิดใสชนิดเดียว
  • Submaxillary gland หรือ Submandibular gland พบได้ที่บริเวณขากรรไกรล่าง ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดใสจะมากกว่า เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายได้มากที่สุด
  • Sublingual gland ขนาดเล็กที่สุด พบได้ที่บริเวณใต้ลิ้น ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดเหนียวจะมากกว่า

ที่มา Thai wiki

ปาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปาก (อังกฤษMouth) หรือช่องปาก (Oral Cavity) เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร




ประโยชน์ของปาก



1.ใช้พูดคุยกับผู้อื่น
2.ใช้บดเคี้ยวอาหารโดยการย่อยเชิงกล และคลุกเคล้าอาหารให้เข้ากับน้ำลายเพื่อให้เหมาะกับการย่อยในอวัยวะถัดไป

ทางเดินอาหาร



ในมนุษย์ที่โตเต็มที่จะมีระบบทางเดินอาหาร ยาวประมาณ 7 เมตรครึ่ง หรือ 25 ฟุต ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
§  ปาก (Mouth) ในช่องปากมีอวัยวะดังนี้
§  ต่อมน้ำลาย (salivary glands)
§  เยื้อเมือกช่องปาก (mucosa)
§  ฟัน (teeth)
§  ลิ้น (tongue)
§  คอหอย (Pharynx)
§  หลอดอาหาร (Esophagus) และ ปากกระเพาะ (cardia)
§  กระเพาะอาหาร (Stomach) ประกอบด้วย
§  ปากกระเพาะ (cardiac)
§  กระพุ้งกระเพาะอาหาร (fundus)
§  กระเพาะส่วนปลาย (antrum, pylorus)
§  หูรูดกระเพาะส่วนปลาย (pyloric sphincter)
§  ลำไส้ (intestine หรือ Bowel) :
§  ลำไส้เล็ก (small intestine) มีสามส่วนดังนี้:
§  ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum)
§  ลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum)
§  ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum)
§  ลำไส้ใหญ่ (large intestine) มีสามส่วนดังนี้:
§  กระพุ้งไส้ใหญ่ หรือ ซีกัม (cecum) (เป็นที่อยู่ของ ไส้ติ่ง (vermiform appendix))
§  ไส้ใหญ่ (colon) ประกอบด้วย
§  ไส้ใหญ่ส่วนขึ้น (ascending colon)
§  ไส้ใหญ่ส่วนขวาง (transverse colon)
§  ไส้ใหญ่ส่วนลง (descending colon)
§  ไส้ใหญ่ส่วนคด (sigmoid flexure)
§  ไส้ตรง (rectum)
§  ทวารหนัก (anus)


การย่อยในลำไส้เล็ก


          อาหารจะเคลื่อนจากกระเพาะอาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูดเข้าสู่ลำไส้เล็ก การย่อยอาหารในลำไส้เล็กเกิดจากการทำงานของอวัยวะ 3 ชนิด คือ ตับ ตับอ่อน และผนังลำไส้เล็ก ดังภาพ


ภาพที่ 4 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยในลำไส้เล็ก
 
ที่มาหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 14


            ตับ ทำหน้าที่สร้างน้ำดีเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี จากถุงน้ำดีมีท่อเปิดเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม น้ำดีจะช่วยกระจายไขมันให้แตกตัวออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วเอนไซม์ไลเพสจะทำการย่อยต่อไปจนได้กรดไขมันและกลีเซอรอล นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่ทำลาย เชื้อโรคและสารบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายรวมทั้งเก็บสะสมวิตามินและธาตุเหล็ก 
            ตับอ่อน ทำหน้าที่สร้งเอนไซม์หลายชนิด เช่น เอนไซม์อะไมเลส  ย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นกลูโคส เอนไซม์ไลเพส ย่อยไขมันขนาดเล็กให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล เอนไซม์ทริปซินย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน นอกจากนี้ ตับอ่อนยังสร้างสารโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสปล่อยออกมา เพื่อลดความเป็นกรด ของอาหารที่มาจากกระเพาะอาหาร 
            ลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 7 เมตร ขดอยู่ในช่องท้อง ลำไส้เล็กส่วนต้นต่อจากกระเพาะอาหารยาวประมาณ 0.30 เมตร เรียก ดูโอดินัม ลำเส้นเล็กส่วนกลางยาวประมาณ 2.5 เมตร เรียก เจจูนัม และส่วนของลำไส้เล็กส่วนสุดท้ายยาวประมาณ 4 เมตร เรียกว่า ไอเลียม ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นปุ่มไม่เรียบ เรียกว่า วิลไล
            การย่อยในลำไส้เล็ก ต้องอาศัยเอนไซม์จากตับอ่อน ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ ต่าง ๆ ดังนี้ 
            1. ทริปซิน (trypsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
            2. อะไมเลส (amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคส 
            3. ไลเพส (lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันขนาดเล็กให้เป็นกรดไขมันและ กลีเซอรอล



อาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึม รวมทั้งอาหารที่ย่อยไม่ได้ เช่น เซลลูโลส จะผ่านมายัง ลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะดูดน้ำ แร่ธาตุ และวิตามินบางชนิดจากอาหารกลับสู่ร่างกาย ส่วนที่เหลือเป็นกากอาหารจะเคลื่อนไปที่ส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ รอการกำจัดออกทางทวารหนัก

การย่อยในปาก


           การย่อยเชิงกลเริ่มตั้งแต่ปาก ในปากมีฟันทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด มนุษย์มีฟัน 2 ชุด ชุดแรก เรียกฟันน้ำนม มี 20 ซี่ ชุดที่ 2 เรียกฟันแท้ มี 32 ซี่ ฟันแท้ประกอบด้วยกลุ่มฟันหลายแบบแตกต่างกัน ดังภาพ




ภาพที่ 2 ฟันแท้ในปากของมนุษย์ 
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 12
  
           นอกจากนั้นแล้ว ในปากยังมีน้ำลาย ที่ผลิตจากต่อมน้ำลายประมาณวันละ 1 – 1.5 ลิตร ในการย่อยแป้งด้วยน้ำลายนั้น ในน้ำลายมีเอนไซม์อะไมเลส ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล เอนไซม์ในน้ำลายจะทำงานได้ดี ระหว่างค่า pH 6.4 – 7.2 และทำงานได้ดีในอุณหภูม ิใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย ถ้าอุณหภูมิสูงมากจะทำลายเอนไซม์ และ            ถ้าสภาวะแวดล้อมเป็นกรดเป็นเบส เอนไซม์จะถูกทำลายเนื่องจากอาหาร อยู่ในปากระยะเวลาสั้นมาก แป้งที่ถูกย่อยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของน้ำตาลโมเลกุลคู่ คือ น้ำตาลมอลโทส



ฟันของมนุษย์เราแข็งแรงมาก แต่ถ้าดูแลรักษาไม่ดีอาจผุได้ เนื่องจากจุลินทรีย์ในปากจะย่อยสลายเศษอาหารที่ตกค้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาล นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังใช้น้ำตาลส่วนหนึ่งสร้างสารเมือกเหนียวติดบนตัวฟันและจะเกาะทับถมเพิ่มจำนวนมากขึ้นบนฟันเป็นแผ่นคราบจุลินทรีย์ (plaque)

           เมื่ออาหารผ่านเข้าไปถึงหลอดอาหาร หลอดอาหารจะบีบตัว เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ผ่านไปได้ การบีบตัวของหลอดอาหารเรียกว่า เพอริสตัลซิส (peristalsis) ถ้าอาหารอยูในลักษณะเป็นของเหลว จะทำให้การเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหารได้เร็วขึ้น ดังภาพ
ภาพที่ 3 การบีบตัวที่หลอดอาหาร 
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 13

อาหารจากปากซึ่งมีการย่อยเชิงกล และการย่อยทางเคมีแล้วผ่านไปยังหลอดอาหารหลังจากนั้นอาหารจะลงสู่กระเพาะอาหาร นักเรียนคิดว่าในกระเพาะอาหารมีการย่อยอย่างไร

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ระบบย่อยอาหาร


            สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจำเป็นต้องได้รับอาหารเพื่อใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตบางชนิดสามารถสร้างอาหารได้เองด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น พืช แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น มนุษย์ สังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ ต้องรับอาหารที่เป็นสารอินทรีย์จากพืชหรือสัตว์นำเข้าสู่ร่างกาย หลังจากนั้นจะต้องมีการทำให้อาหารเหล่านี้เป็นโมเลกุลเล็ก ๆ เพื่อให้เข้าสู่กระแสเลือดแล้วนำไปยังเซลล์ต่าง ๆ ต่อไป การทำอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็กแล้วซึมเข้าสู่กระแสเลือดนี้เรียกว่า การย่อย (digestion)


การย่อยอาหารในร่างกายมี 2 วิธี คือ
1. การย่อยเชิงกล คือ การบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดของอาหารทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง
2. การย่อยเชิงเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของสารอาหาร โดยใช้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องทำให้โมเลกุลของสารอาหาร เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางเคมีได้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง